สาเหตุของความเครียด
ในขณะที่โลกต้องเผชิญกับปัญหาโรคระบาด ผู้คนมากมายย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกาย และจิตใจ จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมในตอนนี้กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยแรงกดดัน และความเครียด บางคนอาจจะสามารถมีวิธีทำให้ตัวเองผ่อนคลาย และสามารถหายเครียดได้ แต่บางคนอาจจะจมอยู่กับความเครียดทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันต่าง ๆ ตามมา ดังนั้นเราจึงควรมารู้จักกับความเครียดว่าอาการที่เรากำลังเป็นอยู่นั้นเข้าข่ายความเครียดแบบไหนกัน
ระดับของความเครียด
ความเครียดนั้นมักมาจากการถูกกระตุ้นทางสังคม สิ่งแวดล้อม ภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ รวมถึงสภาพร่างกาย โดยความเครียดแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- Mind stress กลุ่มความเครียดต่ำ มีความรู้สึกเบื่อหน่าย การตอบสนองเชื่องช้าลง ขาดแรงกระตุ้นในการดำเนินชีวิต
- Moderate Stress เครียดระดับปานกลาง เป็นความเครียดในระดังปกติ สามารถหากิจกรรมที่ช่วยให้หายเครียดได้
- High Stress เครียดระดับสูง เกิดจากความเครียดที่มีต่อเหตุการณ์รุนแรง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ปวดศีรษะ ปวดท้อง นอนไม่หลับ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไปจนมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
- Severe Stress เครียดระดับรุนแรง กลุ่มความเครียดระดับสูงก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา อารมณ์แปรปรวนง่าย มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวัน อาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี ซึ่งหากมีอาการในกลุ่มนี้ควรเข้าพบแพทย์
สัญญาณของความเครียดความเครียดมักส่งผลกระทบต่อร่างกาย และสุขภาพจิตของเรามากกว่าที่เราคิด โดยสามารถแบ่งสัญญาณเตือนของความเครียดออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 Cognitive Symptoms ความเครียดมักจะส่งผลกระทบกับสมองเป็นประการแรก ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง เช่น สมาธิสั้นลง มีปัญหาด้านความจำ ขี้หลงขี้ลืม การคิดแก้ไขปัญหาช้าลง เกิดความวิตกกังวลว่าตนเองจะทำผิดพลาด หวาดกลัวกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อสมองเราทำงานช้าลงจะทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ และส่งผลต่อการตัดสินใจ หรือการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ช้าลงนั่นเอง
- กลุ่มที่ 2 Emotional Symptoms ความเครียดส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้อารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ บ้างฉุนเฉียว บ้างซึมเศร้า หรือบางคนอาจรู้สึกเหงา และโดดเดี่ยว เกิดการปลีกตัวออกจากสังคมและยิ่งทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ง่ายขึ้นด้วย
- กลุ่มที่ 3 Physical Symptoms เป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจนที่สุด โดยผู้ที่มีความเครียดส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการ เช่น ผมร่วง ปวดหัว หนังตากระตุก กินจุบจิบไม่หยุด เหงื่อออกง่าย ปวดเมื่อยตามร่างกาย หัวใจเต้นเร็วขึ้น คลื่นไส้อาเจียน ระบบขับถ่ายมีปัญหา และความต้องการทางเพศลดลง
- กลุ่มที่ 4 Behavioral Symptoms เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อพฤติกรรม เช่น ปลีกตัวเองออกจากสังคม ไม่พบปะผู้คน นอนไม่หลับ มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด บุหรี่ และแอลกอฮอล์มากขึ้น รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้า ทำผิดพลาดบ่อยแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม เพราะการรับรู้ของสมองทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
ทำอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับความเครียด
- สังเกตร่างกายของตนเองว่ามีความผิดปกติ หรือเกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือไม่
- เบี่ยงเบนความสนใจโดยการหากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียด เช่น ทำงานบ้าน ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ เล่นกีฬา หรือนั่งสมาธิ ออกไปเที่ยวนออกบ้าน เป็นต้น
- ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้ดูสบายตา เช่น จัดห้องนอนใหม่ จัดโต๊ะ หรือจัดห้องทำงานใหม่
- ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้คิดในแง่บวก และหมั่นฝึกทักษะการสื่อสาร และสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน หรือคนรอบข้างให้มากขึ้น
- พูดคุยกับคนในครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนสนิทเพื่อระบายความทุกข์ใจ
ความเครียดมักเกิดขึ้นกับทุกคน การรู้ถึงสัญญาณ ความรุนแรงของโรค และรู้วิธีคลายเครียดอาจจะสามารถช่วยให้ป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะความเครียนั้นจะมีผลต่อสุขภาพทางจิต หากเรารู้จักจัดการคลายความเครียดจะสามารถช่วยให้ลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
นอกจากนี้ เราอาจจะต้องทานวิตามินช่วยหรือหาตัวช่วยดีๆ ทาน เพื่อช่วยให้อาการปวดหัว จากความดครียดดีขึ้นได้
หากท่านสนใจเรามีตัวช่วยดี ๆ แนะนำท่านสามารถเข้ามาดูได้ที่
https://www.smilethailandtour.com/category/วิตามินดีต่อสุขภาพ