อาการคอเรสเตอรอสสูง

 

ความหมาย สาเหตุและอาการ คอเลสเตอรอลสูง

คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) คือภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากคอเลสเตอรอลบางส่วนมีความสำคัญกับร่างกาย ทำได้เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการรับประทานอาหาร รวมถึงการใช้ยาเพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอรอล

 

คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ และสามารถพบได้ในอาหาร เป็นไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะในกระบวนการสร้างเซลล์ในร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องการคอเลสเตอรอลในการช่วยให้การทำงานเป็นไปได้อย่างเป็นปกติ
หากระดับคอเลสเตอรอลมีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น เนื่องจากคอเลสเตอรอลจะไปเกาะตัวกันบนผนังหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

1.คอเลสเตอรรอลชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ทำหน้าที่ในการนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินจากเซลล์กลับไปยังตับ เพื่อทำลายหรือขับออกในรูปของเสียจากร่างกาย
2.คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หากมีมากกว่าที่เซลล์ต้องการก็จะไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือด เป็นชนิดที่อันตรายและส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้

อากาคอเลสเตอรอสสูง
โดยปกติแล้วจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่ในกรณีที่ระดับคอเลสเตอรอลสูงมาก ๆ ก็อาจทำให้เสี่ยงกับปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวจะสามารถระบุได้ก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจเลือดวินิจฉัย
สาเหตุของคอเลสเตอรอลสูง
เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารที่รับประทาน หรือแม้แต่โรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลโดยตรง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้แก่

  • การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ส่งผลโดยตรงต่อระดับคอเลสเตอรอล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องในสัตว์หรือไข่ ก็ล้วนแต่มีคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในปริมาณที่สูง
  • ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย การเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลงจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) สูงขึ้น จนทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูง
  • โรคอ้วน ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางสุขภาพ และทำให้แนวโน้มที่ระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์จะสูงขึ้น รวมถึงทำให้ระดับคอเลสเตอรอลที่ดีลดต่ำลงอีกด้วย
  • ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป นอกจากทำลายตับแล้ว การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักก็ยังส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้
  • การสูบบุหรี่ สารเคมีจากบุหรี่เป็นตัวการสำคัญที่เข้าไปขัดขวางการทำงานของคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี ทำให้คอเลสเตอรอลเตอรอลส่วนเกินไม่สามารถลำเลียงไปยังตับได้ เป็นเหตุให้หลอดเลือดตีบเนื่องจากการสะสมของคอเลสเตรอลที่ผนังหลอดเลือดและกลายเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งในที่สุด

 

การรักษาคอเลสเตอรอลสูง

  • ออกกำลังกายให้มากขึ้น เป็นหนึ่งในวิธีการลดระดับคอเลสเตอรอล LDL และเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอล HDL เพราะเมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายก็จะสร้างคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีมากำจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีออกไป อีกทั้งยังช่วยให้เลือดสูบฉีดได้ดี และทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย โดยเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือการออกกำลังกายที่หนักปานกลางสัปดาห์ละ 2.5 ชั่วโมง
  • ควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะอ้วน การลดน้ำหนักจะช่วยให้การควบคุมระดับคอเลสเตอรอลทำงานได้ดีขึ้นในระยาว
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรับประทานอาหารที่ดีกับสุขภาพมากขึ้นจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ โดยเปลี่ยนจากการรับประทานแป้งขาวมารับประทานแป้งโฮลวีตหรือธัญพืชอื่น ๆ รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น อีกทั้งยังควรรับประทานอาหารที่มีพลังงานไม่สูงมากนัก ในแต่ละมื้อควรมีสารอาหารครบทุกหมู่ รวมทั้งมีสัดส่วนและปริมาณของคอเลสเตอรอลที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดและอาหารจากไขมันแปรรูป เช่น เนยเทียม (Margarine) เพราะเป็นอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง หากรับประทานในปริมาณมากก็จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอล LDL เพิ่มสูงตามไปด้วย
  • ควบคุมปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่ลดลงจะช่วยให้ตับถูกทำลายน้อยลง อีกทั้งยังทำให้ตับสามารถทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมกับเพศและวัยจะดีที่สุด
  • เลิกสูบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้คอเลสเตอรอลชนิดที่ดีทำงานได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เราอาจจะต้องทานวิตามินช่วยหรือหาตัวช่วยดีๆ ทาน เพื่อช่วยให้ลดคอเลสเตอรอสสูงดีขึ้นได้
หากท่านสนใจเรามีตัวช่วยดี ๆ แนะนำท่านสามารถเข้ามาดูได้ที่ 
https://www.smilethailandtour.com/product/683196

แหล่งของมูลอ้างอิง
https://www.pobpad.com
รูปภาพจาก
http://xn--12cbs1c1a0anes6esedc1b1b6n.blogspot.com/2014/05/blog-post_23.html

วิตามินดีต่อสุขภาพ

    ไม่พบสินค้าในหมวดหมู่นี้

Visitors: 867,774